วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551

สุนัขบางแก้ว

4821408076 นางสาวพัชรา ตันประเสิรฺฐ D.10

สุนัขบางแก้ว












ประวัติสุนัขบางแก้ว ข้อมูลจากตำนานบอกเล่าจากคนเก่าแก่บ้านบางแก้ว,บ้านชุมแสงสงคราม สรุปได้ว่า แหล่งกำเนิดสุนัขไทยพันธุ์บางแก้วอยู่ที่วัดบางแก้ว ต.ท่านางงาม อ.บางระกำ จังหวัดพิษณุโลก โดยหลวงพ่อมากซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดในขณะนั้น ท่านได้เลี้ยงสุนัขไว้มากมายไม่ต่ำกว่า 20 ตัว และแต่ละตัวนั้นสุดแสนที่จะดุ จนเป็นที่ทราบกันดีของชาวบ้านในละแวกนั้นว่า ถ้าใครเข้าไปที่วัดโดยไม่ส่งเสียงเรียกหลวงพ่อ ก็จะต้องถูกไล่กัดกระจุยแน่นอน ด้วยความดุของสุนัขเหล่านี้นี่เอง ทำให้ชาวบ้านนิยมขอลูกสุนัขไปเลี้ยงเฝ้าบ้าน จนแพร่พันธุ์ไปมากมายตามหมู่บ้านต่างๆ ด้วยความที่เป็นสุนัขที่ดุและหวงแหนทรัพย์สิน รักเจ้าของอย่างถวายหัว แถมยังมีขนยาวสวยงาม จึงทำให้เป็นที่นิยมกันในตั้งแต่อดีต แต่ในอดีตนั้นไม่มีการซื้อขาย แต่จะนำสิ่งของไปแลกเปลี่ยน เช่นลูกปืนหรือสิ่งของอื่นๆ ที่ชาวบ้านจำเป็นต้องใช้ไปแลกกับลูกสุนัข หรือถ้าใครมีโอกาสผ่านไปยังบริเวณดังกล่าว ก็จะมีการนำสุนัขบางแก้ว มาเป็นของฝาก ของกำนัลให้กับเจ้านาย ซึ่งในปัจจุบันสุนัขไทยพันธุ์บางแก้วได้รับการพัฒนาสายพันธุ์อย่างต่อเนื่องทำให้มีรูปร่างที่สวยงาม โครงสร้างใหญ่ ขนยาว กว่าในอดีต จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมากและได้แพร่หลายออกไปทั่วประเทศ

ข้อสันนิฐานสุนัขสามสายเลือด พื้นที่บริเวณบ้านบางแก้วในอดีตนั้น เป็นพื้นที่ลุ่มติดแม่น้ำยม มีน้ำท่วมเกือบตลอดทั้งปี ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพในการจับสัตว์น้ำ มีเขตติดต่อกับผืนป่าซึ่งอุดมสมบูรณ์ และเต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด รวมทั้งสุนัขจิ้งจอก และสุนัขไนด้วย เนื่องจากสุนัขป่านั้นเป็นสุนัขที่มีความกล้าหาญ แข็งแรง ว่องไว ฉลาด เมื่อสุนัขเหล่านี้ได้เดินทางหากินมายังบริเวณหมู่บ้าน เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ของสุนัข สุนัขป่าเหล่านั้นก็ได้กลิ่นฮอร์โมนเพศเมียของสุนัขบ้านที่กำลังเป็นสัตว์ และพร้อมที่จะรับการผสมพันธุ์จากตัวผู้ จึงยินยอมพร้อมใจให้สุนัขป่าเข้ามาผสมพันธุ์กับตัวเอง แต่พฤติกรรมเหล่านี้มิได้เกิดขึ้นแต่เพียงสุนัขอย่างเดียว แม้กระทั่งสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ของชาวบ้านยังได้รับการผสมพันธุ์กับสัตว์ป่า เช่น หมูป่ากับหมูบ้าน ไก่ป่ากับไก่บ้านเป็นต้น เลยเป็นบทพิสูจน์อีกบทหนึ่งว่า โอกาสที่จะเกิดสุนัขสามสายเลือดนั้นอาจจะเกิดจากพ่อสุนัขจิ้งจอก พ่อสุนัขไน กับแม่สุนัขไทยพื้นบ้านทั่วไป ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายสี สามารถผสมกันไปมาจนเกิดลูกหลานได้ เมื่อมีการผสมข้ามพันธุ์กันตามธรรมชาติ หรือเรียกง่ายๆ ว่าธรรมชาติเป็นผู้ผสมพันธุ์ และคัดเลือกพันธุ์ให้ ในที่สุดก็ได้ "สุนัขไทยพันธุ์บางแก้ว" ที่มีลักษณะหลายสีเหมือนสุนัขบ้าน มีขนยาวสองชั้นเหมือนสุนัขป่า หูป้องไปข้างหน้าเหมือนจิ้งจอก ดุ รักถิ่นฐานเหมือนสุนัขบ้าน และกล้าหาญเหมือนสุนัข


ลักษณะประจำพันธ์
มาตรฐานพันธุ์หมาไทยบางแก้ว ที่กำหนดขึ้นโดยชมรมผู้อนุรักษ์และพัฒนาสุนัขไทยบางแก้ว พิษณุโลก แห่งประเทศไทย โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก (นายไพฑูรณ์ สุนทรวิภาค) เป็นประธานวางกฎเกณฑ์และมาตรฐานในการพัฒนาสายพันธุ์ และได้มีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2534 ดังนี้ ลักษณะทั่วไป หมาบางแก้วมีลักษณะเด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว กล่าวคือ มีขนปุยยาว มีความสง่างาม ว่องไวและแข็งแรง เวลายืนมักเชิดหน้าและโก่งคอคล้ายม้า เป็นสุนัขขนาดกลาง รูปทรงตั้งแต่ช่วงขาหน้าถึงขาหลังเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส อกกว้างและลึกได้ระดับกับข้อศอก ไหล่กว้าง ท้องไม่คอดกิ่ว หน้าแหลม หูเล็ก หางพวง ขนมีสองชั้น นิสัยรักเจ้าของ ฉลาดปราดเปรียว กล้าหาญ ค่อนข้างดุ สามารถฝึกหัดได้ ชอบเล่นน้ำมาก ขนาดเท่าหมาไทย หรือเล็กกว่าเล็กน้อย ไม่อ้วน ความสูงวัดที่ไหล่ ตัวผู้พ่อพันธุ์สูง 42-53 เซนติเมตร ตัวเมียแม่พันธุ์ 38-48 เซนติเมตร น้ำหนักตัวผู้ 14-16 กิโลกรัม ตัวเมีย 13-15 กิโลกรัม ลำตัว ช่วงตัวตอนหน้าใหญ่ ช่วงตัวตอนท้ายค่อนข้างเล็ก ลำตัวหนาปานกลาง อกลึกปานกลาง อกแคบ ยืดอกเวลายืน ส่วนเอวจะคอดน้อยกว่าหมาไทย ท้ายลาด สง่าเหมือนหมาจิ้งจอก ขา ว่ากันว่าดูหมาบางแก้วแท้ ๆ ให้สังเกตขา ขาหน้าจะใหญ่กว่าขาหลังเล็กน้อย ขาส่วนบนใหญ่และเรียวลงมาถึงข้อเท้า ตั้งตรงแข็งแรง ถ้าดูด้านข้างจะเห็นขนยาวเป็นเส้นตรงจากข้อเท้าด้านหลังขึ้นไปถึงข้อศอกเหมือนขาสิงห์ ขาหลังช่วงล่างมีทั้งตั้งตรงและเกือบตรง ช่วงบนด้านหลังจะมีขนยาว เป็นเส้นตรงขึ้นไปจนถึงโคนหาง เวลายืนท่าปกติจะรับน้ำหนักทรงตัวดี นิ้วเรียงชิดกัน ขนที่ปลายนิ้วยาวหุ้มเล็บ หัว กะโหลกใหญ่ ปากยาวแหลม คอยาวกว่าหมาไทยทั่วไป กะโหลกศีรษะและปากรับกันเป็นรูปสามเหลี่ยม หูเล็กสั้น ตั้งป้องไปข้างหน้า ปลายหูเบนไปข้างๆ เล็กน้อย โคนหูทั้งสองอยู่ห่างกันมากกว่าหมาพันธุ์อื่น ๆ จึงใช้เป็นจุดเด่นในการสังเกตว่าเป็นหมาบางแก้ว ภายในหูมีขนปรายปิดรูหูอย่างสีดำมีแววของความไม่เชื่อใจใครง่ายๆ ขณะโกรธหรือขู่จะขึ้นแววฟ้า ใสแววที่เรียกกันว่า ตาเขียว จมูกสีดำ ฟันซี่เล็กข่าวคม มีเขี้ยวข้างบน 2 ล่าง 2 ลิ้นเป็นสีชมพู ส่วนมากไม่มีปานดำเหมือนหมาไทยทั่วไป ขนสองชั้น หนา ชั้นล่างละเอียดอ่อนนิ่ม ขนชั้นบนยาวเป็นเส้น เมื่อยังเล็กจะมีขนยาวปุกปุยแน่นทั่วตัว แต่เมื่อโตขึ้นจะมีขนยาวปานกลางแน่นทั้งตัว ขนที่กลางหลังตั้งแต่แผงคอไปยังโคนหางจะยาวกว่าขนบริเวณอื่น ๆ มีแผงขนเป็นชั้นช่วงสันหลัง เวลาโกรธจะฟูยกให้เห็นชัดเจน ด้านล่างจากข้อเท้าตอนล่างถึงโคนขาตอนบนจะมีขนยาวฟูพอประมาณ หางต้องเป็นพวง ถือเป็นลักษณะเด่นที่สืบทองดมาจากหมาจิ้งจอกลักษณะพวงหางแบ่งออกเป็น 3 พวกใหญ่ ๆ คือ
1. หางตั้งโค้งไปข้างหน้า บางตัวหางจะเหยียดตรงวางทาบไปบนหลัง
2. หางพุ่งไปด้านหลังแล้วโค้งตั้งขึ้นเหมือนหางดาบ ถ้าหางยาวจะโค้งมาจรดหลัง ถ้ายาวมากจะเบี่ยงลงข้าง ถ้าหางพวงใหญ่มีน้ำหนักมาก หางจะไพล่ห้อยลงข้างตัว หางชนิดนี้มีอยู่มาก โดยเฉพาะแถบบ้านชุมแสงสงคราม
3. หางเป็นพวงลาดแบบแทงดิน ยาวห้อยลงอย่างหางม้า เวลาดีใจเมื่อเดินหรือวิ่งจะแกว่งหางไปมา เวลายืนหากมั่นใจว่าปลอดภัย จะยกหางสูงขึ้นเลยระดับตัวเล็กน้อย นักเลี้ยงหมาบางแก้วบางคนจะพูดถึงกิริยาหางนี้ว่า "ขึ้นได้-ลงได้" ลักษณะเช่นนี้เหมือนหมาป่ามาก เรียกว่า หางจิ้งจอก สี หมาบางแก้วมีสีหลักคือ สีดำพื้น, สีน้ำตาลพื้น, สีน้ำตาลปรายย้อมดำ(เขียว), สีด่างน้ำตาลขาว, บางตัวนอกจากสีด่างดำขาว หรือสีน้ำตาลขาวยังแทรกจุดหย่อมเล็กกระจายมากน้อยทั่วทั้งตัวอีกด้วย ส่วนสีที่นิยมคือ ขาวปลอด ขาวน้ำตาล ขาวดำ เสียงเห่า เสียงเห่าแหลมเล็กกว่าหมาไทย การเดินวิ่ง เวลาเดินวิ่งจะเหยาะย่างสง่างามเหมือนม้าย่างเท้าสวนสนามปกติจะวิ่งซอยเท้าถี่ ข้อบกพร่อง ใบหูพลิ้ว, ไม่มีขนแผงรอบคอ, ขาหน้าเล็ก, ไม่มีแข้งสิงห์, ไม่มีขนคลุมนิ้วเท้า, หูใหญ่, หางขอด, ขนหลุดร่วง, ฟันบนยื่นกว่าฟันล่าง, ปากใหญ่, ตาใหญ่, หูไม่ตั้ง, หางไม่เป็นพวง, ขนสั้น, อัณฑะเม็ดเดียว, ฟันขาด 3 ซี่ขึ้นไปโดยไม่ใช่เพราะอุบัติเหตุ, หางขาด, ฟันล่างยื่นกว่าฟันบน, ปากทู่, ตากลม, สันหลังแอ่นลักษณะพิเศษของหมาบางแก้ว
1. ลักษณะหน้าเสือ ใบหน้าดูคล้ายเสือ มีกะโหลกศีรษะใหญ่ หน้าผากกว้าง โคนหูตั้งอยู่ห่างกัน หูเล็กแบะออกเล็กน้อย แววตาเซื่องซึม พื้นสีตามักจะเป็นสีเหลืองทองคล้ำ ม่านตาตรงกลางสีดำ มีขนย้อยจากโคนหูด้านล่างเป็นแผงที่คอ เรียกว่า แผงคอ แต่ไม่รอบคอ ขนมีทั้งฟูและไม่ฟู มีหางเป็นพวง ทั้งหางงอ และหางม้วน แลดูดุร้าย เป็นลักษณะของหมาบางแก้วที่ใหญ่ที่สุด
2. ลักษณะหน้าสิงโต มีกะโหลกศีรษะเล็กกว่าลักษณะหน้าเสือ หูเล็กเป็นรูปสามเหลี่ยม ป้องไปข้างหน้ารับกับใบหน้าอย่างสวยงาม ปากไม่เรียวแหลมมาก ไม่ใหญ่ไม่เล็กเกินไป มีขนยาวตั้งแต่โคนหูลงมาด้านล่าง เป็นแผงรอบคอ และมีขนเป็นเคราจากใต้คางย้อยลงมาเหมือนคอพอกลงมาถึงคอด้านล่าง ที่บริเวณรอบลำคอมีขนยาวโดยรอบ มีทั้งขนสั้นฟูและฟูยาว เมื่องมองจากดานหน้าจะมีลักษณะคล้ายสิงโต ลักษณะเท้ายาวอูม ขนยาวหุ้มปลายเท้าเล็กน้อย มองดูคล้ายเท้าหมี ขนมีทั้งยาวฟู สั้นฟู หางมีทั้งม้วนสูงและม้วนต่ำ เป็นพวงและไม่เป็นพวง ช่วงตอนหน้าใหญ่ตอนท้ายเล็ก ยามปกติแววตาและท่าทางเซื่องซึม แต่เมื่อเป็นศัตรูปรือคนแปลกหน้า จะเปลี่ยนเป็นดุร้ายและคล่องแคล่วว่องไวทันที ลักษณะหน้าสิงโตเป็นลักษณะที่หายามาก นาน ๆ จึงจะพบเห็นสักตัวหนึ่ง
3. ลักษณะหน้าจิ้งจอก มีใบหน้าแหลม หูใหญ่กว่าลักษณะหน้าเสือและหน้าสิงโต ใบหูไม่ตรงโย้ออกด้านข้าง มองดูเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ปากแหลมเรียวและค่อนข้างยาว ขนอ่อนยาวเรียบ ขนหางเป็นพวง รูปร่างมีทั้งใหญ่ กลางและเล็ก นิสัยไม่ค่อยดุร้ายเหมือนสองพวกแรก

ข้อดีของหมาบางแก้ว
1. ความดุ ขึ้นชื่อมาก ขนาดขึ้นไปนั่งบนเรือนแล้วยังตามขึ้นไปกัดหรือขนาดเดินผ่านเลยบ้านไปแล้วยังวิ่งตามไปกัดอีก
2. มีความซื่อสัตย์ต่อเจ้าของอย่างยอดเยี่ยม รักและหวงเจ้าของมากจะเฝ้าอารักขาเจ้าของไม่ยอมห่าง
3. ขนาดรูปร่างพอเหมาะสวยงาม ไม่เล็ก ไม่ใหญ่เกินไป (เล็กกว่าหมาไทยเล็กน้อย)
4. มีความสามารถในการดมกลิ่นดีมาก เหมาะที่จะใช้เข้าป่าล่าสัตว์
5. จำเสียงได้แม่นยำ จำเสียงพูด เสียงเดินของเจ้าของได้
6. มีความกล้าหาญ กล้าต่อสู้กับสุนัขที่โตกว่า
7. กินอาหารง่าย ไม่เลือกอาหาร
8. มีความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศได้ดี หน้าร้อน ไม่เหนื่อยง่าย หน้าหนาวขนยาวให้ความอบอุ่นสบาย
9. มีประสาทตื่นตัวอยู่เสมอ แม้แต่ขณะที่นอนหลับ
อาหารสำหรับสุนัข
ปัญหาของผู้เลี้ยงสุนัขก็คือ สุนัขแต่ละตัวแต่ละพันธุ์ ชอบทานอาหาร ไม่เหมือนกันจะคลุกข้าวกับปลาทู กับเศษอาหารเหลือๆ เหมือนสุนัขบ้าน สุนัขวัด มันไม่ทานแน่ สุนัขบางตัวทานแต่กับข้าวที่คลุกให้มันจะไม่ยอมแตะ เป็นที่กลัดกลุ้มใจต่อผู้เลี้ยงมาก ที่จะต้องสูญเสียเงินเป็นจำนวนมาก เป็นการเพิ่มภาระเลี้ยงดูนอกเหนือจากลูกสาวลูกชาย และสมาชิกในครอบครัวที่มีอยู่เป็นปรกติแล้วความจริงนั้นสุนัขปรับตัวเองได้ดีมาก มันจะสามารถ ทาน อะไรได้ทุกๆ อย่างตามที่เราจัดหาให้มัน แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป เช่น จากทานแต่เนื้อสัตว์ก็ค่อยๆ เริ่มทานข้าว และผัก อื่นๆ ได้ สุนัขที่เรานำมาเลี้ยงได้ส่วนใหญ่จะมีอายุประมาณ 10 สัปดาห์ เป็นระยะเวลาที่มันหย่านมจากแม่ ลืมตา และแข็งแรงแล้ว เมื่อนำมาเลี้ยงจะมีพฤติกรรมเพียง 2 อย่าง คือ กินกับนอน ซึ่งเราต้องฟูมฟักกับมันอยู่เช่นนั้น กว่าที่จะโตเป็นหนุ่ม เป็นพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ได้ต้องใช้เวลาประมาณ10 - 15 เดือน (ระยะเวลาขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของมัน)

สารอาหารที่จำเป็นสำหรับสุนัข
สารอาหารที่จำเป็นสำหรับสุนัขที่กำลังเจริญเติบโต ก็เช่นเดียวกับคน คือมันจะต้องการ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน ไขมัน แร่ธาตุ น้ำ จะแตกต่างกันที่ปริมาณเท่านั้น หากต้องการจะทำอาหารให้สุนัขทานควรเป็นประเภท ข้าวเนื้อสัตว์ ผัก เป็นองค์ประกอบหลัก และปรับปรุงรสชาติให้น่าทาน เพราะสุนัขก็มีต่อมรับรส เช่นเดียวกัน หากอาหารที่คุณทำดีมีรสชาติถูกใจ มันก็จะ เจริญอาหาร ทานจนพุงกางไปเลย ควรเปลี่ยนอาหารสลับหมุนเวียนกันบ้าง ไม่ควรให้มันทานของซ้ำๆ กัน เพราะจะทำให้มันขาดสารอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง
ตลอดเวลา ทำให้ เป็นปัญหาต่อสุขภาพในอนาคต อาหารประเภทไข่ ไม่ควรให้ทานไข่ดิบหรือไข่ลวก เพราะโปรตีนในไข่จะไม่ดูดซึม เข้าสู่ร่างกายสุนัข ควรทำให้สุกโดยการทอด หรือต้มจะเป็นประโยชน ์ต่อสุนัขของ คุณมากกว่า
อาหารประเภทตับ หลายคนชอบให้สุนัขรับประทาน เพราะหาง่ายและ สุนัขก็ชอบเหมือนกัน แต่ไม่ควรให้มันทานทุกวัน การให้อาหารประเภทตับเช่นตับต้ม ตับย่าง แก่สุนัขทุกวันจะทำให้มีปัญหาเรื่องกระดูก เนื่องจากในตับไม่มีความสมดุล ของแร่ธาตุที่เป็นองค์ประกอบในร่างกาย จะทำให้สุนัขของคุณเป็น โรคกระดูกบาง กระดูกหักง่าย หากต้องการให้สุนัขทานตับจริง ๆ ก็ควรเพิ่มอาหารเสริมที่เป็นวิตามิน หรือแคลเซี่ยมก็จะช่วยแก้ปัญหานี้ไปได้

หลักการเลือกอาหารสำเร็จรูปของสุนัข
1. ต้องพิจารณาดูว่าสุนัขของท่านอยู่ในวัยใด เป็นเด็ก เป็นหนุ่ม หรืออยู่ใน วัยชราแล้ว ควรจัดผสมสูตรของอาหารให้เหมาะสมกับวัยของสุนัข การผสม สัดส่วน ของสารอาหารโดยผิดสูตรจะมีผลอย่างยิ่งต่อสุนัขที่ยังอยู่ในวัยเด็กอยู่
2. อาหารกระป๋อง หรืออาหารเม็ด ทั้ง 2 อย่างก็มีประโยชน์ต่อสุนัข ของคุณ เท่ากัน ขี้นอยู่กับว่าสุนัขจะชอบทานประเภทไหน ถ้าเป็นแบบกระป๋องก็ทานง่าย เพราะมีกลิ่น มีน้ำ และรสชาติที่อร่อยกว่าแบบเม็ด เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย
3. ตรวจสอบอาหารก่อนซื้อ ต้องดูว่าภาชนะที่บรรจุอาหารสุนัข จะไม่ขาดรั่ว มีแมลงตัวมอด หรือหนอนเจาะไซถุง ถ้าเป็นกระป๋องก็ต้องไม่บุบ ไม่รั่ว ไม่บวม ไม่ขึ้นสนิม ไม่มีกลิ่นเหม็นหืน กลิ่นบูดเน่า

เทคนิคการให้อาหารสุนัข เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการเลี้ยงสุนัขที่เจ้าของจะต้องเรียนรู้ และเข้าใจในพฤติกรรมของสุนัข มิฉะนั้นสุนัขของคุณก็จะเติบโตอย่างไม่มีคุณภาพ
เทคนิคการให้อาหารสุนัขมี 3 วิธี คือ

1. ตักทิ้งไว้ครั้งละมากๆ ให้สุนัขเลือกทานเอง กรณีนี้สุนัขคุณจะทานอาหารได้ทั้งวัน ทั้งคืน เป็นการสะดวกต่อเจ้าของที่มีธุรกิจมาก ไม่ค่อยจะอยู่บ้านเลี้ยงดูมันอาหารประเภทนี้ควรเป็นอาหารประเภทเม็ดจะสะดวกที่สุด เพราะหากให้เป็นอาหารสดเมื่อทิ้งไว้นานๆ จะทำให้บูดเน่าเป็นอันตรายต่อสุนัข
ข้อเสียของการให้อาหารประเภทนี้ จะทำให้เราไม่รู้ได้เลยว่าสุนัขตัวไหนได้กินมาก หรือกินน้อย หรือตัวไหนไม่ได้กินเลย เพราะพฤติกรรมของสุนัขก็มักมีการเบ่งอวดความแข็งแกร่ง ถึงขนาดขู่ไม่ให้ทานอาหารเลยก็มี ซึงกรณีนี้เราจะล่วงรู้ได้อีกทีก็ต่อเมื่อสุนัขบางตัว ของท่านซูบผอม หรือไม่สบาย

2. ให้อาหารโดยควบคุมเรื่องเวลา การกำหนดเวลาให้อาหารสุนัข จะทำให้มันรู้เวลาของมันโดยอัตโนมัติ พอถึงเวลาสุนัขของท่าน ก็จะเรียกร้องที่จะขออาหารทาน เช่น เดินตาม หรือเห่าร้อง เอามือตะกายประตู หรือข้างฝา สุนัขบางตัวจะค่อยๆ กิน บางตัวก็จะรีบกินโดยไม่ตรวจสอบดูว่า อาหารในจานเป็นอะไร มีมากน้อยเพียงแค่ไหน ควรจำกัดเวลากินของมันสัก 20-30 นาทีก็จัดเก็บอาหาร เก็บไว้ให้มันกินในมื้อต่อๆ ไปลูกสุนัขที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือนควรให้กินวันละ 3 มื้อ 6-12 เดือน ควรให้กินวันละ 2 มื้อ อายุเกิน 1 ปีขึ้นไปให้กินวันละ 1 ครั้งก็พอ

3. แบ่งอาหารตามสัดส่วนและอัตราการกินของสุนัขแต่ละตัว สุนัขแต่ละตัวมีพฤติกรรมการกินที่แตกต่างกันออกไป บางตัวกินน้อย บางตัวกินมาก บางตัวนอกจากจะกินมากแล้ว ยังกีดกันไม่ให้ตัวอื่นกินในที่ของมันอีก วิธีนี้จะเป็นวิธีการให้อาหารทีดีที่สุดแต่คุณจะต้องมีเวลา ที่จะคอยควบคุมการกินของบรรดาเหล่าสุนัขพวกนี้ปัญหาที่ทำให้ผู้เลี้ยงสุนัขประสบอีกอย่างหนึ่งคือ ปัญหาการเปลี่ยน อาหารสุนัข พบว่าสุนัขบางตัวปฏิเสธไม่ยอมรับอาหารใหม่เหล่านั้น วิธีการที่ถูกต้องในการปรับให้สุนัขทานอาหารใหม่ ต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยสัปดาห์แรกควรนำ อาหารเก่าและใหม่มาคลุกรวมกันในอัตราส่วน 1 ต่อ 4 เพื่อไม่ให้สุนัขลืมรสชาติอาหารเก่า สัปดาห์ที่ 2 เพิ่มอัตราส่วนอาหารใหม่เป็น1 ต่อ 2 พอสัปดาห์ที่ 3 ก็เพิ่ม เป็น 3 ต่อ 4 และสัปดาห์ต่อไปก็ลอง ให้อาหารใหม่ เพียงอย่างเดียว สุนัขของคุณก็จะเคยชินและยอมรับอาหารใหม่ไปโดยปริยาย การเปลี่ยนอาหารใหม่ให้สุนัขเป็นเรื่องที่ดี ดังกล่าวมาแล้ว เพราะจะทำให้สุนัขได้รับสารอาหารชนิดอื่นหมุนเวียนครบถ้วน กรณีที่มันไม่ยอมรับ ผู้เลี้ยงต้องทำใจและค่อยๆ ปรับเปลี่ยนโดยใช้เวลา ซึ่งอาจจะนานกว่า 4 สัปดาห์ ถ้ามันเป็นสุนัขที่ดื้อและไม่ยอมเปลี่ยนอาหารง่าย ๆ สำหรับการดูแลสุขภาพของสุนัขตัวโปรดของคุณ จริงๆ แล้วไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าการได้รับอาหารที่มีคุณค่าสารอาหารครบถ้วนในปริมาณที่สมดุล ในช่วงที่ลูกสุนัขกำลังเจริญเติบโตจะต้องการพลังงานและสารอาหารมากเป็นพิเศษเพื่อนำไปเสริมสร้างร่างกาย ซึ่งต้องการปริมาณมากกว่าสุนัขที่โตเต็มที่แล้วเสียอีก ดังนั้นคุณควรจะเลือกอาหารที่มีคุณค่าสารอาหารครบถ้วนในปริมาณที่สมดุล เหมาะสำหรับช่วงเจริญวัย สุนัขต้องการน้ำสะอาดและสารอาหารต่างๆ เช่น โปรตีน (กรดอะมิโน) คาร์โบไฮเดรต เพื่อใช้เป็นพลังงานและเสริมสร้างกระดูก ไขมัน นอกจากนี้ยังสะสมเป็นพลังงานน้ำมันที่จำเป็นต่างๆ วิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อกระบวนการเผาผลาญอาหาร รวมถึงการบำรุงรักษาร่างกาย เพื่อให้แน่ใจได้ว่าคุณเลือกอาหารที่ดีที่สุดและมีสารอาหารตรงกับความต้องการของสุนัขมากที่สุด คุณจึงควรเลือกซื้ออาหารจากผู้ผลิตอาหารสุนัขที่เชื่อถือได้มากที่สุด และมีการศึกษาวิจัยสม่ำเสมอเกี่ยวกับอาหารสุนัข ที่สำคัญต้องผ่านการรับรองคุณภาพจากสถาบันในประเทศต่างๆ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้คุณสามารถสบายใจได้ว่าสุนัขของคุณจะได้รับสารอาหารจำเป็นอย่างครบถ้วน ความต้องการอาหารสุนัขที่คุณเลี้ยง ต้องการสารอาหารทั้งจากเนื้อสัตว์และผักต่างๆ เช่นเดียวกันกับเรา เพียงแต่ต้องการในปริมาณที่แตกต่างกัน โดยสุนัขต้องการปริมาณโปรตีนมากกว่าคนเราถึง 6 เท่าและแคลเซียมมากกว่าถึง 7 เท่า ดังนั้นการเลี้ยงสุนัขด้วยอาหารที่เราทาน หรืออาหารเหลือนั้น อาจทำให้สุนัขได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน นอกจากนี้ปริมาณความต้องการสารอาหารในสุนัขก็ยังแตกต่างกันไปตามอายุและขนาดของสุนัขอีกด้วย

ตารางการให้อาหารสุนัข สุนัขที่มีอายุระหว่าง 0-2 ปี ในช่วงนี้ร่างกายของสุนัขจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมาก ดังนั้นสุนัขจึงต้องการสารอาหารประเภทโปรตีน รวมไปถึงแคลเซียม และฟอสฟอรัสมากเป็นพิเศษ เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของกล้ามเนื้อ กระดูก และฟัน สุนัขที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป สุนัขที่โตเต็มที่แล้ว ต้องการปริมาณสารอาหารที่ครบถ้วน 100% เพื่อบำรุงสุขภาพ และความแข็งแรงของร่างกาย สุนัขที่มีกิจกรรมน้อยลงและสุนัขสูงวัย สุนัขสูงวัยจะมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวน้อยลง แต่ยังคงต้องการปริมาณคุณค่าสารอาหารที่ครบถ้วน โดยต้องการโปรตีนในปริมาณที่สูง เพื่อช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอต่างๆ ของร่างกายไม่ว่าจะเป็นบาดแผลหรือกระดูกที่ผุกร่อนแต่ต้องการไขมันต่ำ เพื่อช่วยควบคุมน้ำหนัก

การให้อาหารสุนัขในแต่ละวัน ความสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญของการดูแลสุนัขให้มีสุขภาพดี พยายามให้อาหารสุนัขของคุณในช่วงเวลา และสถานที่เดียวกันทุกวัน ถ้าจำเป็นต้องเปลี่ยนเวลาในการให้อาหารหรือกำหนดการต่างๆ ควรค่อยๆ เปลี่ยนอย่างช้าๆ ด้วยการผสมผสานสิ่งเก่ากับสิ่งใหม่เข้าไว้ด้วยกัน บริเวณด้านข้างบรรจุภัณฑ์ของอาหารสุนัขจะบอกปริมาณการให้อาหารสุนัขอย่างเหมาะสมโดยอาศัยเกณฑ์ของน้ำหนัก สุนัขที่มีกิจกรรมมาก หรือสุนัขที่คุณเลี้ยงไว้บริเวณนอกบ้าน จะมีการเผาผลาญแคลอรีที่สะสมในร่างกายมากกว่า สุนัขที่ถูกเลี้ยงไว้ในบ้านหรือสุนัขสูงวัยซึ่งมีกิจกรรมน้อยลง ดังนั้นการเผาผลาญแคลอรีก็จะน้อยลงไปด้วย ให้อาหารกับสุนัขของคุณในปริมาณที่เขาต้องการแต่ไม่ควรมากจนเกินไปโรคอ้วนเป็นปัญหาสุขภาพอย่างหนึ่งที่พบมากในสุนัข ควรชั่งน้ำหนักสุนัขของคุณอย่างน้อยเดือนละครั้ง ถ้าสังเกตว่าสุนัขเริ่มมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น หรือชั้นไขมันบริเวณใต้ผิวหนังเริ่มหนาขึ้นแล้วละก็ ควรลดปริมาณอาหารที่ให้ลงตามสมควรอายุอาหารที่ให้ ตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 สัปดาห์ ลูกสุนัขควรจะได้รับนมแม่หรือนมเหลืองเป็นอาหารหลัก โดยเฉพาะในช่วงสามวันแรกที่ร่างกายต้องการสารอาหารเพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทาน แต่ถ้าแม่สุนัขไม่สามารถให้นมได้ คุณควรเลี้ยงลูกสุนัขด้วยนมสำหรับลูกสุนัขโดยเฉพาะ ในสัปดาห์ที่ 4 คุณสามารถเริ่มให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปทีละน้อยๆ โดยผสมกับนมอุ่นๆ
6-8 สัปดาห์ ควรเริ่มฝึกให้ทานอาหารเม็ด โดยผสมกับน้ำอุ่นเพื่อให้มีความอ่อนตัวไม่แข็งจนเกินไป ควรให้ประมาณวันละ 4 มื้อ (เช้า กลางวัน เย็น และ ก่อนนอน)
9-11 สัปดาห์ ลดปริมาณน้ำอุ่นที่ผสมในอาหารลง เพราะสุนัขเริ่มทานอาหารแข็งได้แล้ว
3-5 เดือน ลดปริมาณน้ำอุ่นที่ผสมในอาหารลงอีก และลดจำนวนมื้ออาหารมาเป็นวันละสามมื้อ (เช้า กลางวัน เย็น)
6 เดือนขึ้นไป เริ่มให้เขาหัดกินอาหารเม็ด โดยไม่ต้องผสมน้ำอีกต่อไปและลดให้เหลือเพียง 1-2 มื้อ ต่อวัน ปริมาณการให้อาหารขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของสุนัข ที่ข้างกล่องหรือถุงบรรจุภัณฑ์อาหารสุนัขจะมีปริมาณที่เหมาะสมแนะนำไว้ โดยแบ่งตามน้ำหนักที่แตกต่างกัน การให้อาหารมากจนเกินไปหรือให้อาหารนอกเวลาที่สุนัขเคยได้รับตามปกติ อาจทำให้เกิดโรคอ้วนซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้

ปริมาณการให้อาหารที่แนะนำในแต่ละวัน

ขนาดของสุนัขเมื่อโตเต็มที่ คำแนะนำในการให้อาหารลูกสุนัข (กรัม)
น้อยกว่า 3 เดือน 3-6 เดือน 6-12 เดือน 12-24 เดือน
สุนัขขนาดเล็กมากจนถึง 5 กก. 50-75
90-750
100-160
80-130

สุนัขขนาดเล็ก 5-12 กก. 75-140
150-275
160-310
130-250

สุนัขขนาดกลาง 12-25 กก. 140-230
275-450
310-555
250-440

สุนัขขนาดใหญ่ 25-45 กก. 230-325
450-675
555-850
440-675


ทั้งนี้ปริมาณการให้อาหารอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามขนาด อายุ สายพันธุ์ และกิจกรรมของสุนัข

อาหารสุนัขสำเร็จรูป อาหารชนิดเม็ดหรือชนิดกระป๋อง อาหารสุนัขสำเร็จรูปโดยปกติแล้วมักจะแบ่งได้เป็นสองชนิด คือ อาหารแห้งหรืออาหารชนิดเม็ด และอาหารกระป๋องหรืออาหารชนิดเปียก อาหารทั้งสองอย่างเป็นอาหารที่มีคุณภาพดีและเหมาะสมที่จะเลี้ยงสุนัข แต่อย่างไรก็ดีอาหารทั้งสองอย่างนี้มีข้อแตกต่างกันหลายจุดซึ่งอาจนำมาใช้เป็นเหตุผลประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้ออาหารให้สุนัขของคุณได้ดังนี้ อาหารชนิดแห้งหรืออาหารเม็ด โดยมากมักผลิตจากวัตถุดับพวกเนื้อสัตว์โดยผ่านกระบวนการอบให้แห้ง จนเหลือความชื้นอยู่ในตัวอาหารไม่ถึง 10% ดังนั้นอาหารแห้งจะมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าอาหารกระป๋อง ดังนั้นเมื่อคุณให้อาหารแห้งแก่สุนัขในปริมาณที่น้อยกว่าก็ไม่ทำให้สุนัขได้รับสารอาหารที่น้อยเกินไปแต่อย่างใด อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดจะช่วยนวดเหงือกและขัดฟันสุนัขให้สะอาดป้องกันการเกิดหินปูน นอกจากนี้คุณควรจัดหาน้ำสะอาดใส่ภาชนะวางไว้ข้างๆ ชามข้าวสุนัขตลอดเวลา อาหารกระป๋องก็นิยมทำมาจากวัตถุดิบพวกเนื้อสัตว์เช่นกัน อาหารชนิดนี้มีกลิ่นและรสชาติที่ดึงดูดใจสุนัขให้รับประทานเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังช่วยให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ง่าย อย่างไรก็ดีคุณควรจัดหาน้ำสะอาดใส่ภาชนะวางไว้ข้างๆ ชามข้าวสุนัขตลอดเวลาด้วยเช่นกัน

การเลี้ยงสุนัข
สุนัขบางแก้วนิยมนำมาเลี้ยงกันตั้งแต่ 45 วันขึ้นไป เริ่มแรกก็พบสัตว์แพทย์เกี่ยวกับการทำวัคซีนปีละ 1 ครั้ง อาจจะเป็นวัคซีนรวมหรือแยกก็แล้วแต่ ทำวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า จากนั้นก็ถ่ายพยาธิ ซึ่งการทำวัคซีนต่อไปก็ทำเพียงปีละ 1ครั้งก็พอ เพราะสุนัขบางแก้วนั้นจัดได้ว่าเป็นสุนัขที่ทนต่อโรคสูง (พื้นฐานอาจมาจากสุนัขไทยที่คุ้นเคยกับสภาพภูมิอากาศ)

การเลือกและดูแลเลี้ยงดูลูกสุนัขแรกเกิดถึงหย่านม การนำลูกสุนัขมาเลี้ยงนั้น อายุที่สมควรจะนำมาเลี้ยงนั้น ควรเป็นอายุประมาณ 6 ถึง 8 สัปดาห์ เพราะลูกสุนัขจะได้รับวัคซีนป้องกันโรคที่สำคัญ ที่ทำให้ลูกสุนัขเสียชีวิตอยู่บ่อยๆ มาเรียบร้อยแล้ว คือ โรคลำไส้อักเสบจากไวรัส และโรคหัด ซึ่งถ้าลูกสุนัขได้รับเชื้อไวรัสเหล่านี้ และไม่มีภูมิคุ้มกันพอ และเมื่อแสดงอาการของโรคแล้วมากกว่า 90% ของลูกสุนัขจะตาย โดยเริ่มฉีดวัคซีนเข็มแรกที่อายุ 6 สัปดาห์ และต่อจากนั้นคุณหมอจะแนะนำโปรแกรมที่ถูกต้องให้แก่เจ้าของเอง นอกจากนั้นลูกสุนัขที่มีอายุขนาด (6-8 สัปดาห์) นี้จะไม่โตหรือเล็กเกินไป จะยอมรับเจ้าของใหม่ได้ง่าย และเริ่มหย่านมได้แล้ว สรุปได้ว่า อายุสุนัขที่ควรนำมาเลี้ยงควรจะอยู่ระหว่าง 2-3 เดือน การเลือกลูกสุนัขก็มีหลักการง่ายๆ อยู่ว่า ให้ดูลูกสุนัขที่ร่าเริง ดวงตาแจ่มใส ควรจะลองบีบบริเวณจมูกเบาๆ ดูว่าน้ำมูกที่ออกมาใสหรือข้น โดยปกติเขาก็จะมีน้ำใสๆ อยู่แล้ว และจมูกเปียกชื้น ส่วนผิวหนังก็ให้ดูว่ามีโรคผิวหนังใดๆ หรือตุ่ม หรือจุดเลือดออกหรือไม่ ลูกสุนัขอายุเท่านี้จะต้องมีการฉีดวัคซีนมาแล้ว 1 ครั้ง ดังนั้นคุณจะต้องขอใบรับรองการฉีดวัคซีน ซึ่งควรจะอยู่คู่กับตัวลูกสุนัขและต้องมีลายเซ็นต์ของสัตว์แพทย์ที่มีใบอนุญาตประกอบการบำบัดโรคสัตว์อย่างถูกต้องรับรองอยู่ด้วย การให้อาหารนั้น ลูกสุนัขยังไม่หย่านมก็ยังคงต้องให้นมอยู่ และควรจะเป็นนมผงที่ผลิตสำหรับลูกสุนัขโดยเฉพาะ เพราะจะมีส่วนประกอบวิตามินแร่ธาตุที่จำเป็นในปริมาณและอัตราส่วนที่เหมาะสม ลูกสุนัขของคุณอาจจะท้องเสียเนื่องจากมีปัญหาในการย่อยน้ำนมที่คุณให้เขาได้ ทางแก้ก็คือ ให้งดน้ำนมชั่วคราว และให้น้ำเกลือแร่แทน หรือลองเปลี่ยนยี่ห้อ หรือชนิดของนมดู เช่น เปลี่ยนเป็นนมถั่วเหลือง เป็นต้น งดน้ำนมแล้วให้น้ำเกลือแร่แทน นอกจากในรายที่เป็นรุนแรง เช่น ท้องเสียมากกว่า 1 วัน จึงจะต้องนำไปหาสัตว์แพทย์

ตารางปริมาณน้ำนมที่ลูกสุนัขต้องการ และจำนวนมื้อต่อวัน

อายุของลูกสุนัข (วัน) ปริมาณน้ำนมคิดเป็นกรัม จำนวนมื้อต่อวัน

1 – 3 15 – 20% ของน้ำหนักตัว

4 – 7 22 – 25% ของน้ำหนักตัว

8 – 14 30 – 32% ของน้ำหนักตัว

15 – 21 25 – 40% ของน้ำหนักตัว

สำหรับอาหารนั้น สุนัขบางแก้วเป็นสุนัขที่กินอาหารง่ายอยู่แล้วและปริมาณการให้ก็ไม่มากด้วย เพื่อความสะดวกสบายก็ควรเลี้ยงอาหารสำเร็จรูปที่มีจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไป หรือถ้าพอมีเวลาอาจจะให้ข้าวก็ได้ กับข้าวกินได้ทุกชนิด แต่ควรระวังเรื่องกระดูกแหลมซักหน่อย ทางที่ดีควรจะบด กินผักเกือบทุกชนิดแล้วแต่ผู้เลี้ยงจะฝึกหัด หมายเหตุ ถ้าสุนัขของท่านเป็นสุนัขที่เลือกกินพอสมควร ในกรณีที่ท่านต้องการเปลี่ยนอาหารเช่นปกติเลี้ยงข้าว แต่ต่อมาต้องการความสะดวกจึงเปลี่ยนมาเลี้ยงอาหารเม็ดแต่สุนัขไม่ยอมกิน ในลักษณะนี้ท่านผู้เลี้ยงต้องใจแข็งสักหน่อยนะค่ะ อย่าตามใจเป็นอันขาด ลองทิ้งอาหารเม็ดไว้ให้เขาประมาณ 20 นาที ถ้าไม่กินก็เก็บเลยค่ะ แล้วนำมาเลี้ยงในมื้อต่อไป ทำเช่นนี้จนกว่าสุนัขจะยอมรับอาหาร เชื่อว่าเขาคงทนหิวไม่ได้หรอกค่ะ

การอาบน้ำและการดูแลทำความสะอาด การอาบน้ำสุนัขก็เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าไม่ระวังอาจทำให้เขาป่วยได้เพราะอุณหภูมิร่างกายสุนัขนั้นสูงกว่าคนเรา น้ำที่เราคิดว่าเย็นไม่มากอาจจะเย็นเกินไปสำหรับสุนัข จึงควรอาบน้ำให้เขาในช่วงกลางวันขณะที่น้ำและอากาศไม่เย็นมาก หลังจากอาบเสร็จ ให้เช็ดตัวสุนัขให้แห้ง ถ้าเป็นสุนัขที่ขนยาวก็อาจใช้เครื่องเป่าผมเพื่อช่วยให้สุนัขไม่หนาวมากเกินไป ถ้าทำความสะอาดขนของเขาเป็นอย่างดี อาจไม่ต้องอาบน้ำบ่อยก็ได้ ควรถูสบู่เมื่อขนของเขาสกปรกมาก มีกลิ่นตัว หรือมีหมัดเท่านั้น อย่าอาบน้ำให้เขาเกินสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพราะถ้าอาบบ่อยเกินไปอาจทำให้ผิวหนังของสุนัขแห้งและคัน ซึ่งจะมีปัญหาโรคผิวหนังตามมา และในขณะอาบน้ำควรระวังน้ำเข้าหูสุนัขด้วย
การเลือกแชมพูอาบน้ำที่เหมาะสำหรับผิวของสุนัขเป็นสิ่งที่สำคัญ ควรเลือกที่ทำจากส่วนผสมที่ไม่ระคายเคืองต่อผิวและตาของสุนัข แชมพูสำหรับลูกสุนัขควรอ่อนโยนเช่นเดียวกับแชมพูเด็ก เพราะลูกสุนัขมีผิวที่บอบบางมาก สุนัขที่มีกลิ่นตัวควรใช้แชมพูที่ช่วยขจัดกลิ่นตัวและให้เขามีกลิ่นสะอาดสดชื่นขึ้น ถ้าสุนัขมีขนสั้น ให้ใช้แชมพูที่ไม่ระคายเคืองผิวและตา แต่ถ้าเป็นสุนัขขนยาว ให้ใช้แชมพูที่ผสมครีมนวดเพื่อช่วยให้ขนของเขาเงางามและสลวยขึ้น สุนัขบางแก้วเป็นสุนัขที่ชอบเล่นน้ำแต่ไม่ชอบให้อาบน้ำ (อันนี้เป็นเรื่องจริง) เราควรฝึกอาบน้ำเขาตั้งแต่ยังเล็กให้เกิดความเคยชิน พอโตขึ้นจะอาบน้ำไม่ยาก แต่ก็ไม่ควรอาบบ่อยนะครับแค่ 2 สัปดาห์ต่อ 1 ครั้งก็พอ

เรื่องปวดหัวเกี่ยวกับบางแก้ว เนื่องจากสุนัขบางแก้วสืบเชื้อสายมาจากสุนัขป่า อุปนิสัยหลายๆ อย่างของเขายังคงความเป็นสัตว์ป่า เช่น นักล่า เขาจะชอบจับสัตว์ต่างๆ มากัดเล่น หรือไม่ก็แอบกินเลย(อันนี้ต้องระวังให้ดี) เช่น สัตว์เลื้อยคลานแทบทุกชนิดแม้กระทั่งงู สัตว์ปีกทุกชนิดแม้กระทั่งนกที่ว่าบินเร็วและสูงยังเสร็จมาแล้ว นอกจากนั้นยังชอบขุด ขุด ขุดแล้วก็ขุด เขาจะขุดทุกที่ที่เขาขุดได้ ไม่ว่าจะเป็นสนามหญ้า กระถางต้นไม้ ใต้ถุน เมื่อขุดแล้วจะนำตัวเองเข้าไปนอนอยู่ในนั้นเลย สำหรับท่านที่เลี้ยงบัว เลี้ยงปลาในอ่างบัว ทำใจไว้ได้เลยค่ะ พังแน่นอน ไม่เพียงเพราะว่าเขาจะลงไปเล่นน้ำอย่างเดียวนะค่ะ เขาก็จะกัด กัด กัดและแทะทุกอย่างเท่าที่เขาทำได้ นิสัยพวกนี้ส่วนใหญ่จะแก้ไม่หายตีไปก็ตายเสียเปล่า เขาจะหยุดก็ต่อเมื่อ อายุ 2 ปีเข้าไปแล้วโน่นค่ะ แต่ทุกอย่างแก้ไขได้สำหรับบางแก้ว ด้วยทำให้บางแก้วมีวินัยตั้งแต่ยังเล็ก พูดง่ายๆ คือตั้งแต่เริ่มนำเขาเข้ามาเลี้ยงเลยค่ะ อย่ารอจนโตแล้วฝึก ควรจะฝึกนิสัยขั้นพื้นฐานให้เขาตั้งแต่ยังเล็กไม่ว่าจะเป็นการกิน การขับถ่าย การนอน การเล่น ทุกอย่างค่ะ แล้วปัญหาข้างต้นจะไม่เกิดขึ้นอีก
หลักในการเพาะพันธุ์สุนัขบางแก้ว
หลักทั่วไปในการผสมพันธุ์คือ ไม่ควรที่จะผสมพันธุ์สุนัขที่มีสายเลือดใกล้ชิดกันจนเกินไป เช่น พ่อ หรือ แม่กับลูก ซึ่งเรียกว่า การผสมในสายสัมพันธ์ เพราะจะทำให้ลูกสุนัขที่เกิดขึ้นรวบรวมเอาสิ่งที่ไม่ดีจากสายเลือดให้มีมากขึ้น เช่น โรคต่างๆ ความไม่แข็งแรงของอวัยวะบางส่วน เป็นต้น แต่ในการผสมพันธุ์ที่อยู่ในสายเลือดเดียวกันก็มีผลดีที่ว่าสามารถได้ลูกสุนัขที่ออกมาใกล้เคียงกันกับบรรพบุรุษมากที่สุด ในหลักการนี้ต้องไม่ใกล้ชิดกันเกินไปอย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น อย่างน้อยต้องห่างกัน 2 ขั้น เช่น ลูกสุนัขรุ่นหลานอาจจะผสมกับรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ก็ได้ โดยหลักการนี้ทางคอกหรือฟาร์มทั่วไป นิยมทำกัน เนื่องจากจะได้ลูกสุนัขที่มีสายเลือดดีอย่างที่ต้องการ หรือในการผสมพันธุ์กับสุนัขตัวอื่นๆ ที่ไม่ใช่สุนัขในคอกเลย ก็สามารถทำได้โดยที่แทบไม่ต้องกังวลเลยว่า จะมีสายเลือดใกล้ชิดกันแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องดูใบประวัติกันหน่อยว่าไม่ใช่สายเลือดเดียวกัน
พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ สุนัขตัวผู้จะแสดงอาการกระตือรือร้นในเรื่องเพศ เมื่ออายุประมาณ 6 ถึง 8 เดือน แต่ควรรอให้สุนัขโตเต็มที่คือเมื่อ อายุประมาณ 1 ปี ขึ้นไป ควรบำรุงสุนัขพ่อพันธุ์ให้กินอาหารที่มีโปรตีนมากๆเช่น เนื้อหรือไข่ และต้องออกกำลังกายสม่ำเสมออย่าให้อ้วนหรือผอมเกินไป เมื่อสุนัขตัวผู้แข็งแรงก็จะผลิตตัวอสุจิที่แข็งแรงจะได้ผสมกับไข่จำนวนมากขณะที่เป็นสัด ทำให้ได้ลูกครอกใหญ่ ส่วนสุนัขตัวเมียที่จะทำการผสมพันธุ์นั้นควรมีสุขภาพที่แข็งแรง เพราะถ้าร่างกายของแม่พันธุ์มีความสมบูรณ์ก็จะมีผลส่งให้ลูกสุนัขโดยตรง จึงควรบำรุงแม่พันธุ์ให้ดีได้รับสารอาหารครบถ้วน เช่นโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ โดยเฉพาะวิตามินอี ที่มีผลต่อการผสมพันธุ์ สุนัขตัวเมียที่เริ่มเป็นสัดครั้งแรกนั้นไม่ควรให้มีการผสมพันธุ์ เพราะความสมบูรณ์ของร่างกายยังไม่พร้อม และจะทำให้ร่างกายของสุนัขเองเกิดการชะงักในการเจริญเติบโต และก่อนการผสมพันธุ์ควรดูแลให้พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์มีความสมบูรณ์ และได้รับการถ่ายพยาธิและฉีดวัคซีนให้ครบถ้วนเพื่อให้ลูกสุนัขได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่ด้วย

การเป็นสัด การเป็นสัดของสุนัขบางแก้วโดยปกติจะเป็นปีละครั้ง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของสุนัขเองด้วยว่า มีความสมบูรณ์เพียงใด เพราะสุนัขที่มีความสมบูรณ์มากก็สามารถเป็นสัดได้ปีละ 2 ครั้งก็มี ระยะการเป็นสัดของสุนัขประมาณ 3 สัปดาห์ ลักษณะที่แสดงให้เห็นถึงการเป็นสัดของสุนัขสังเกตุได้ที่อวัยวะสืบพันธุ์ตัวเมียเริ่มบวมขึ้นและมีน้ำเมือกที่มีเลือดปนออกมาหลังจากนั้นสุนัขตัวเมียก็จะแสดงอาการขี้เล่นกับตัวผู้เพื่อที่จะแสดงว่าพร้อมในการผสมโดยจะบิดหางไปด้านข้างและยอมให้ตัวผู้ผสมพันธุ์ แต่ในช่วงที่ไม่มีน้ำเมือกไหลออกมาแล้ว และอวัยวะสืบพันธุ์ยุบลงด้วยแสดงว่าหมดระยะของการเป็นสัด สุนัขตัวเมียก็จะไม่ยอมให้สุนัขตัวผู้ผสมพันธุ์แล้ว

การผสม การผสมพันธุ์ควรเริ่มผสมประมาณวันที่ 10 ถึง 14 หลังจากเริ่มเป็นสัด การผสมอาจทำเพียงครั้งเดียวก็พอ แต่ถ้าต้องการให้ได้ ผลที่แน่นอนก็ผสมสองครั้งห่างกัน 24 ชม. การผสมพันธุ์นั้นตัวผู้จะขึ้นคร่อมตัวเมีย หลังจากนั้นเมื่อผสมเสร็จแล้วอวัยวะของตัวผู้จะค้างอยู่ประมาณ 20-30 นาที หรือที่เรียกว่า ติด เพื่อให้น้ำเชื้อเข้าสู่มดลูก หลังจากนั้นก็จะหลุดออกมาเองโดยอัตโนมัติ

การตั้งท้อง การตั้งท้องนั้นหลังจากผสมพันธุ์แล้วประมาณ 1 เดือน ถ้าสุนัขท้องจะเห็นเต้านมขยายใหญ่ขึ้น หัวนมจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูต่อมาบริเวณช่องท้องชายโครงจะกางออกเห็นท้องได้ชัดเจน เมื่อท้องได้ประมาณเดือนครึ่ง แม่สุนัขจะเริ่มเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น นิสัยจะสงบลง ไม่กระโดดโลดเต้น กินอาหารมากขึ้น นอนมากขึ้น หามุมสงบเพื่อนอนพักผ่อน ระยะนี้ไม่ควรไล่จับสุนัข หรืออาบน้ำเพราะร่างการสุนัขจะมีการปรับอุณหภูมิอย่างกะทันหันมีผลทำให้สุนัขเกิดการแท้งได้ ถ้าสุนัขสกปรกมากจริงๆ ก้อาจทำได้โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นๆ เช็ดก็พอ ในระยะนี้ควรให้อาหารที่มีคุณภาพดีและ ปริมาณที่เพียงพอสำหรับแม่สุนัขและลูกด้วย และเมื่อใกล้คลอดประมาณ 7 วันจะต้องให้อาหารโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันและวิตามิน โดยให้อาหารเพิ่มจากเดิมประมาณ 20 % เพราะระยะนี้ลูกสุนัขในท้องจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

การคลอด ก่อนสุนัขจะคลอด เจ้าของควรจัดเตรียมสถานที่คลอดเอาไว้ให้พร้อม อาจใช้ผ้าหรือกระดาษหนังสือพิมพ์ปูไว้หลายชั้น และ หัดให้แม่สุนัขนอนในที่ที่จัดไว้ให้ สุนัขบางแก้วนั้นจะตั้งท้องประมาณ 2 เดือนก่อนครบกำหนดคลอดประมาณ 15 วันแม่สุนัขจะเริ่มเบื่ออาหาร พยายามขุดรูหรือโพรงเพื่อจัดเตรียมที่คลอด ในกรณีที่เลี้ยงในกรง แม่สุนัขก็สามารถทำได้เพียงตะกุยผ้าหรือกระดาษที่เจ้าของเตรียมไว้ให้เท่านั้น อาการที่แสดงให้เห็นว่าใกล้จะคลอดแล้วนั้นก็จะมีหัวนมขยายใหญ่ขึ้น มีน้ำนมไหลซึมเมื่อลูกสุนัขออกมา ควรทำและมีน้ำเมือกใสๆซึมออกมาทางช่องคลอดด้วย เมื่อถึงกำหนด คลอดแม่สุนัขจะนอนเบ่งในที่ที่เตรียมไว้ประมาณ ครึ่งหรือ หนึ่งชม. จะเห็นลูกสุนัขตัวแรกคลอดออกมาโดยถุงน้ำคร่ำจะโผล่ออกมาก่อน ส่วนใหญ่แล้วลูกสุนัขจะคลอดโดยเอาหัวออกมาก่อนพร้อมกับรกซึ่งมีสายสะดือติดอยู่ ปกติแล้วแม่สุนัขจะกัดถุงน้ำคร่ำและสายสะดือออกเองพร้อมกับเลียตัวลูกให้สะอาด แต่ถ้าแม่สุนัขไม่ทำหรือไม่สามารถทำได้ผู้ที่ดูแลควรช่วยฉีกถุงน้ำคร่ำแล้วเอาหัวลูกสุนัขออกก่อนและเช็ดน้ำเมือกที่หน้าให้สะอาดก่อน แล้วจึงค่อยทำในบริเวณอื่นตามลำดับการเช็ดบริเวณต่างๆ เพื่อกระตุ้นการหายใจ การหายใจจะเริ่มขึ้นทันทีโดยสังเกตุจากการร้อง ถ้าลุกสุนัขไม่ร้องให้จับลุกสุนัขเอาหัวลงเพื่อให้น้ำและของเหลวในปากออกให้หมด ตอไปจึงจัดการตัดสายสะดือและมัด ทั้งนี้ควรใช้อุปกรณ์ที่สะอาด และนำลูกสุนัขไปรับน้ำนมจากแม่สุนัข น้ำนมในระยะแรกนี้เรียกว่า น้ำนมเหลือง น้ำนมนี้มีภูมิคุ้มกันโรคต่างๆได้อย่างดี เมื่อลูกสุนัขตัวแรกคลอดออกมาแล้วหลังจากนั้นก็จะมีตัวอื่นๆ ตามมาโดยทิ้งระยะ ห่างแต่ละตัวไม่แน่นอนตั้งแต่ 10 นาที ถึง 30 นาที สุนัขบางตัวใช้เวลาในการคลอดไม่ถึงชั่วโมง แต่บางตัวอาจนานกว่านั้น และจำนวนลูกสุนัขนั้นก็จะมีจำนวนไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสุขภาพของแม่สุนัขด้วย

การหย่านม เมื่อลูกสุนัขอายุได้ 2 สัปดาห์ควรจะลืมตาแล้ว แต่ถ้ายังไม่ลืมตาก็ควรใช้น้ำอุ่นล้างตาเบาๆ และเมื่ออายุได้ 3 สัปดาห์ก็เริ่ม กินอาหารอื่นได้นอกจากน้ำนม แต่ทางที่ดีก็ควรให้ลูกสุนัขกินน้ำนมของแม่อยู่เพื่อภูมิคุ้มกันที่ดีจนกว่าจะมีฟันที่พอจะสามารถกินอาหารอื่นได้ แม่สุนัขจะเลี้ยงดูลูกอยู่ประมาณ 35 ถึง 42 วัน บางครั้งอาจถึง 50 วัน แต่ลูกสุนัขควรหย่านมเมื่อมีอายุประมาณ 1 เดือน การหัดให้หย่านมคือหัดการให้กินอาหาร ซึ่งมีน้ำ นมหรือน้ำหวานปนอยู่ด้วย จากนั้นก็ค่อยๆเพิ่มปริมาณอาหารให้มากขึ้นและลดในเรื่องของนมและน้ำหวานลง และเมื่อลูกสุนัขอายุ 2-4 สัปดาห์ก็ควรทำการถ่ายพยาธิครั้งแรก

การตอน การตอนนั้นทำได้ทั้งสุนัขตัวผู้และตัวเมีย การทำหมันในสุนัขตัวเมียนั้นควรทำในระยะที่อยู่ในวัยสาวคือ อายุประมาณ 6-8 เดือน เป็นวัยที่สุนัขมีมดลุกที่โตเต็มที่พร้อมที่จะผสมพันธุ์ถ้าไม่ต้องการให้ผสมพันธุ์ก็จัดการทำหมันเสีย แต่ถ้าต้องการทำหมันหลังจากนี้ก็ต้องทำในช่วงที่ไม่เป็นสัดหรือไม่ตั้งท้อง หากอยู่ในช่วงให้นมลูกควรทำหมันเมื่อลูกหย่านมแล้ว วิธีการทำหมันก็ทำโดยการผ่าตัดเอารังไข่และมดลูกออกให้หมด ส่วนสุนัขตัวผู้นั้นจะทำหมันหรือไม่ทำก็ได้ แต่ในเรื่องการทำหมันควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง








http://www.mh.ac.th/StudentWorkM6/kohchsporn62/o3.htm

ไม่มีความคิดเห็น: